จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีส่งงานผ่านทางบล็อก ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสารความ รู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง ถ้าผู้เรียนมีการเขียน บล็อก อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว บล็อกยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บนบล็อก เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง บล็อก ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว บล็อกจะเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียนบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปในบล็อก และ ผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ บล็อกเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ปฏิบัติงาน การเขียนและอ่าน บล็อก เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน บล็อก ที่มักอ้างถึง บล็อก อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ในบล็อก ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของบล็อก ในกลุ่มที่เรียน
นอกจากนี้การสร้างบล็อกจะได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ข้อดี ของการทำบล็อก
1. สร้างง่ายไม่เสียเงิน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
3.เป็น เครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นต้น
4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
5.ทำให้ทันต่อ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม
7. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
8.ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
9. พอเจอเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
10. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กร
ข้อเสียของการทำบล็อก
1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้
สำหรับตัวข้าพเจ้ามีความสุขมากกับการได้ฝึกทำบล็อก ได้รับความรู้และเทคนิคความรู้จากอาจารย์ผู้สอนมากมาย เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น จากเรียนรู้จากอาจารย์ผู้เรียน การแลกเปลี่ยนรู้กับสมาชิกในห้อง ประกอบกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ ข้าพเจ้าจึงได้นำบล็อกไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งพบว่านักเรียนให้ความสนใจกับการเรียนโดยการใช้บล็อก และข้าพเจ้ายังใช้บล็อกในการสร้างเว็บไวต์ให้กับโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโรงเรียน เป็นช่องทางให้บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อโรงเรียน ซึ่งก็ได้รับความสนใจมากเช่นเดียวกัน
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา ธัญวรัตน คำแหง
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมที่ 5 การศึกษาดูงาน
5.2 กิจกรรม / บรรยากาศการศึกษาดูงาน
24 มกราคม 2554
เวลา 4.40 น. รถออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. แวะรับสมาชิกรายทาง สามแยกสวนผัก และที่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา
เวลา 9.30 น. รับประทานอาหารเช้า บนรถ (ข้าวมันไก่ )
เวลา 11.00 น. ประทับตราหนังสือเดินทาง ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซีย
เวลา 12.00 น. เข้าสู่สถานที่ดูงาน Sekolah Kebangsaan Kodiag school
เวลา 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง( ข้าวหมกไก่ ) ที่ Sekolah Kebangsaan Kodiag school
เวลา 13.50 น. ออกจาก Sekolah Kebangsaan Kodiag school มุ่งหน้าสู่ เกาะปินัง
เวลา 14.30 น. แลกเงิน ณ จุดแปลกเปลี่ยนเงิน
เวลา 19.15 น. รับประทานอาหาร
เวลา 20.40 น. เข้าพักโรงแรม Grand Continental
25 มกราคม 2554
เวลา 5.15 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Grand Continental
เวลา 6.45 น. ออกจากโรงแรม ชมป้อมปืน
เวลา 11.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ที่ร้าน Garden Seafood
เวลา 13.35 น. ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย
เวลา 14.10 น. ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา
เวลา 14. 40 น. ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก
เวลา 14.55 น. ชมตึกแฝด
เวลา 15.25 น. ร้านช็อคโกแลต ออกเดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครบนภูเขาสูง
เวลา 17.50 น. นั่งกระเช้าไฟฟ้า สู่ยอดเขาเก็นติ้ง
เวลา 18.10 น. ถึงเก็นติ้ง เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World
เวลา 19.00 น. รับประทานอาหารค่ำ และชมบรรยากาศภายในเก็นติ้ง พักผ่อนตามอัธยาศัย
26 มกราคม 2554
เวลา 5.30 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ภัตตาคารของโรงแรม First World
เวลา 7.55 น. ลงจากเก็นติ้งด้วยรถบัสของเก็นติ้ง
เวลา 9.30 น.ร้านดิวตี้ฟรี ร้านขนม
เวลา 11.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง Malaysia Kitchen
เวลา 14.30 น. ชมรัฐสภา มัสยิดสีชมพู
เวลา 19.00 น.รับประทานอาหารค่ำ จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่โยโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์
เวลา 20.00 น ถึงด่านแจ้งหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์
เวลา 23.30 น. เข้าสู่ที่พัก AQUEEN HOTEL
27 มกราคม 2554
เวลา 6.30 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม หลังอาหารเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์ บริเวณเมอร์ไลออน
เวลา 9.00 น. ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถนออร์ชาร์ด
เวลา 12.15 น. รับประทานอาหารเที่ยง
เวลา 13.20 น. เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศ
เวลา 16.30 น.รับประทานอาหารเย็น
เวลา 18.40 น. ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea
เวลา 19.30 น. ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์
เวลา 21.30 น.ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย
เวลา 23.00 น. เข้าพักโรงแรม Selasa
28 มกราคม 2554
เวลา 6.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Selasa
เวลา 7.45 น. ออกจากโรงแรม
เวลา 10.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
เวลา 18.20 น. ร้านดิวตี้ฟรี เดินทางสู่ประเทศไทย รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย
เวลา 01.30 น. ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความประทับใจ
1. การศึกษาดูงาน ณ Sekolah Kebangsaan Kodiag school เริ่มต้นการศึกษาดูงาน ด้วยการแนะนำ คณะอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งในการเดินทางในครั้งนี้ มีอาจารย์ จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
อาจารย์ ดร. นพรัตน์ ชัยเรือง ผศ.ดร.ไพศาล นิ่มสุวรรณ อาจารย์สาลินี จงใจสุรธรรม ดร.ทรงพล โสภณ และ
อาจารย์เย็นฤดี นักศึกษา จำนวน 75 คน
มีการแสดงต้อนรับของนักเรียน Sekolah Kebangsaan Kodiag school
และกล่าวต้อนรับ พร้อมนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของ Sekolah Kebangsaan Kodiag school ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Sekolah Kebangsaan Kodiag school มี 3 อาคาร เปิดสอน 7 ชั้นเรียน เปิดเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน มีครู 47 คน เป็นชาย 16 คน หญิง 31 คน นักเรียนจำนวน 591 คน แต่ละชั้นแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ Excellence Genius และ Smart เริ่มเรียนเวลา 7.30 น. เลิกเรียน 12.00 น. โรงเรียนส่งเริมกิจกรรมกีฬา มีโครงการ 1 นักเรียน 1 กีฬา มีกองทุนค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียน เช่น หนังสือยืมเรียน อาหารกลางวัน เป็นต้น การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมเรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ อาคารเรียนอนุบาลแยกต่างหาก ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สรุปภาพรวมแล้วการดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เห็นลักษณะการบริหารจัดการ และบรรยากาศ ซึ่งบางอย่างก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหลายอย่าง
2. เก็นติ้ง ก่อตั้งโดย ลิ้มโกตง ข้าพเจ้าได้นั่งกระเช้าลอยฟ้า ตื่นเต้นสุดๆ นั่งกระเช้าไฟฟ้า (Genting Skyway) ขึ้นไปบนยอดเขา เก็นติ้ง ซึ่งมีความสูงถึง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระยะทางของกระเช้า 3.4 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างทางจะผ่านผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามเป็นอย่างมาก บนยอดเขาเก็นติ้งมีโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวให้เลือกอยู่ 5 แห่งด้วยกัน ซึ่งราคาก็ต่างกันไปตามความหรูหราของโรงแรม ซึ่งคณะดูงานได้พักที่ First World Hotel มี อย่างหนึ่งที่ทุกโรงแรมที่นี่เหมือน กันก็คือ ห้องทุกห้องจะไม่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะว่าอากาศที่บนยอดเขาเก็นติ้ง จะเย็นตลอดทั้งปีอยู่แล้ว แค่เปิดหน้าต่างแง้มไว้หน่อยเดียวก็เย็นจับใจแล้ว โรงแรมที่นี่เค้าจะให้เช็คอินตอนบ่าย 3 โมง และ เช็คเอาท์ตอน เที่ยงตรง สำหรับภายในโรงแรม มีส่วนของช็อปปิ้งและร้านอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีร้านอาหารนานาชนิด ตั้งแต่ Fast food ไปจนถึง ภัตตาคารสุดหรู มีสวนสนุก ซึ่งมีให้เลือกเล่นทั้งสวนสนุกในร่มและสวนสนุกกลางแจ้ง เพราะว่ามีเครื่องเล่นให้เลือกเล่นมากถึง 55 ชนิด ทั้งเครื่องเล่นประเภทหวาดเสียว เช่น Genting Sky Venture, Flying Coaster, Turbo Drop เป็นต้น และ รวมไปถึงเครื่องเล่นประเภทสนุกสนานสำหรับคุณน้องคุณหนูตัวน้อยๆ และที่พลาดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นส่วนของ Snow World ซึ่งเป็น Snow World ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย และที่นี่ก็ยังมี บ่อนคาสิโน การเข้าไปในบ่อน ผู้ชายต้องสวมเสื้อเชิ้ต กางเกงยายาว ร้องเท้าหุ้มส้น ผู้หญิงแต่งแบบไหนก็ได้
3. สิงคโปร์ (Singapore)
สิงคโปร์ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระดับโลก มีพื้นที่เท่ากับเกาะภูเก็ต ประมาณ 682.7 ตร.กม. แต่สร้างรายได้ประชาชาติสูงสุดติดระดับโลก 117,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลสิงคโปร์เน้นสร้าง “คุณภาพคน” โดยเน้นคุณภาพการศึกษาและความรู้เป็น พื้นฐานให้คนสิงคโปร์ทั้งชายและหญิงเป็นคน “เก่ง” แต่ก็ต้องประสบปัญหาด้านสังคม เมื่อพบว่าอัตราการเติบโตของประชากรทั้งหญิงและชาย ลดลง ไม่ยอมแต่งงานยินดีที่จะอยู่เป็น “โสด” และทำงานเลี้ยงตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน
ภาษา ภาษาอังกฤษ มาเลย์ จีนกลางเป็นภาษาราชการ แต่ร้องเพลงชาติภาษามาเลย์
สภาพอากาศ สิงคโปร์มีอากาศอบอุ่นชื้นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24-31 องศาเซลเซียส ชุดที่สวมใส่ประจำวันควรเป็นเสื้อผ้าสำหรับฤดูร้อนที่เบาสบายและทำจากเส้นใย ธรรมชาติอย่างผ้าฝ้าย
เงินตรา สกุลดอลลาร์สิงคโปร์ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 24.5 บาท (26 มกราคม 2554)
น้ำดื่ม สามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำประปาในสิงคโปร์ได้อย่างปลอดภัย
ห้าม เด็ดขาด สิงคโปร์มีกฎหมายเคร่งครัดในเรื่องระเบียบวินัย เช่น การถ่มน้ำลาย การทิ้งขยะ กฎจราจร การข้ามถนน การสูบบุหรี่ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับเป็นเงิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ยกเว้นสถานที่เที่ยวกลางคืน ที่สำคัญห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง
ไฟฟ้าและปลั๊กไฟ ไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220-240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ใช้ปลั๊กไฟแบบ 3 ขาสี่เหลี่ยมจัตุรัส
สถานที่ท่องเที่ยวที่ ข้าพเจ้าได้ไปคือ บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) และเกาะเซ็นโตซ่า ยูนิเวอร์เซล ได้ชมภาพยนตร์ 4 มิติ (4D) เรื่อง“Pirates” ภาพยนตร์แนวผจญภัยของเหล่าลูกเรือโจรสลัด และกัปตันลัคกี้ ในการออกค้นหาสมบัติล้ำค่าที่ถูกฝังไว้ การ ชมภาพยนตร์ต้องสวมแว่นตาพิเศษที่โรงหนังจัดให้ ขณะชมเราจะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนั้น ได้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สนุกสนานและประทับใจมาก นอกจากนี้ยังได้ชมน้ำพุเต้นระบำ song of the sea สวยงม ตื่นตา ตื่นใจมาก ๆ
24 มกราคม 2554
เวลา 4.40 น. รถออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. แวะรับสมาชิกรายทาง สามแยกสวนผัก และที่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา
เวลา 9.30 น. รับประทานอาหารเช้า บนรถ (ข้าวมันไก่ )
เวลา 11.00 น. ประทับตราหนังสือเดินทาง ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซีย
เวลา 12.00 น. เข้าสู่สถานที่ดูงาน Sekolah Kebangsaan Kodiag school
เวลา 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง( ข้าวหมกไก่ ) ที่ Sekolah Kebangsaan Kodiag school
เวลา 13.50 น. ออกจาก Sekolah Kebangsaan Kodiag school มุ่งหน้าสู่ เกาะปินัง
เวลา 14.30 น. แลกเงิน ณ จุดแปลกเปลี่ยนเงิน
เวลา 19.15 น. รับประทานอาหาร
เวลา 20.40 น. เข้าพักโรงแรม Grand Continental
25 มกราคม 2554
เวลา 5.15 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Grand Continental
เวลา 6.45 น. ออกจากโรงแรม ชมป้อมปืน
เวลา 11.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ที่ร้าน Garden Seafood
เวลา 13.35 น. ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย
เวลา 14.10 น. ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา
เวลา 14. 40 น. ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก
เวลา 14.55 น. ชมตึกแฝด
เวลา 15.25 น. ร้านช็อคโกแลต ออกเดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครบนภูเขาสูง
เวลา 17.50 น. นั่งกระเช้าไฟฟ้า สู่ยอดเขาเก็นติ้ง
เวลา 18.10 น. ถึงเก็นติ้ง เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World
เวลา 19.00 น. รับประทานอาหารค่ำ และชมบรรยากาศภายในเก็นติ้ง พักผ่อนตามอัธยาศัย
26 มกราคม 2554
เวลา 5.30 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ภัตตาคารของโรงแรม First World
เวลา 7.55 น. ลงจากเก็นติ้งด้วยรถบัสของเก็นติ้ง
เวลา 9.30 น.ร้านดิวตี้ฟรี ร้านขนม
เวลา 11.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง Malaysia Kitchen
เวลา 14.30 น. ชมรัฐสภา มัสยิดสีชมพู
เวลา 19.00 น.รับประทานอาหารค่ำ จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่โยโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์
เวลา 20.00 น ถึงด่านแจ้งหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์
เวลา 23.30 น. เข้าสู่ที่พัก AQUEEN HOTEL
27 มกราคม 2554
เวลา 6.30 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม หลังอาหารเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์ บริเวณเมอร์ไลออน
เวลา 9.00 น. ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถนออร์ชาร์ด
เวลา 12.15 น. รับประทานอาหารเที่ยง
เวลา 13.20 น. เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศ
เวลา 16.30 น.รับประทานอาหารเย็น
เวลา 18.40 น. ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea
เวลา 19.30 น. ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์
เวลา 21.30 น.ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย
เวลา 23.00 น. เข้าพักโรงแรม Selasa
28 มกราคม 2554
เวลา 6.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Selasa
เวลา 7.45 น. ออกจากโรงแรม
เวลา 10.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
เวลา 18.20 น. ร้านดิวตี้ฟรี เดินทางสู่ประเทศไทย รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย
เวลา 01.30 น. ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ความประทับใจ
1. การศึกษาดูงาน ณ Sekolah Kebangsaan Kodiag school เริ่มต้นการศึกษาดูงาน ด้วยการแนะนำ คณะอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งในการเดินทางในครั้งนี้ มีอาจารย์ จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
อาจารย์ ดร. นพรัตน์ ชัยเรือง ผศ.ดร.ไพศาล นิ่มสุวรรณ อาจารย์สาลินี จงใจสุรธรรม ดร.ทรงพล โสภณ และ
อาจารย์เย็นฤดี นักศึกษา จำนวน 75 คน
มีการแสดงต้อนรับของนักเรียน Sekolah Kebangsaan Kodiag school
และกล่าวต้อนรับ พร้อมนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของ Sekolah Kebangsaan Kodiag school ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Sekolah Kebangsaan Kodiag school มี 3 อาคาร เปิดสอน 7 ชั้นเรียน เปิดเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน มีครู 47 คน เป็นชาย 16 คน หญิง 31 คน นักเรียนจำนวน 591 คน แต่ละชั้นแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ Excellence Genius และ Smart เริ่มเรียนเวลา 7.30 น. เลิกเรียน 12.00 น. โรงเรียนส่งเริมกิจกรรมกีฬา มีโครงการ 1 นักเรียน 1 กีฬา มีกองทุนค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียน เช่น หนังสือยืมเรียน อาหารกลางวัน เป็นต้น การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมเรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ อาคารเรียนอนุบาลแยกต่างหาก ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สรุปภาพรวมแล้วการดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เห็นลักษณะการบริหารจัดการ และบรรยากาศ ซึ่งบางอย่างก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหลายอย่าง
2. เก็นติ้ง ก่อตั้งโดย ลิ้มโกตง ข้าพเจ้าได้นั่งกระเช้าลอยฟ้า ตื่นเต้นสุดๆ นั่งกระเช้าไฟฟ้า (Genting Skyway) ขึ้นไปบนยอดเขา เก็นติ้ง ซึ่งมีความสูงถึง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระยะทางของกระเช้า 3.4 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างทางจะผ่านผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามเป็นอย่างมาก บนยอดเขาเก็นติ้งมีโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวให้เลือกอยู่ 5 แห่งด้วยกัน ซึ่งราคาก็ต่างกันไปตามความหรูหราของโรงแรม ซึ่งคณะดูงานได้พักที่ First World Hotel มี อย่างหนึ่งที่ทุกโรงแรมที่นี่เหมือน กันก็คือ ห้องทุกห้องจะไม่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะว่าอากาศที่บนยอดเขาเก็นติ้ง จะเย็นตลอดทั้งปีอยู่แล้ว แค่เปิดหน้าต่างแง้มไว้หน่อยเดียวก็เย็นจับใจแล้ว โรงแรมที่นี่เค้าจะให้เช็คอินตอนบ่าย 3 โมง และ เช็คเอาท์ตอน เที่ยงตรง สำหรับภายในโรงแรม มีส่วนของช็อปปิ้งและร้านอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีร้านอาหารนานาชนิด ตั้งแต่ Fast food ไปจนถึง ภัตตาคารสุดหรู มีสวนสนุก ซึ่งมีให้เลือกเล่นทั้งสวนสนุกในร่มและสวนสนุกกลางแจ้ง เพราะว่ามีเครื่องเล่นให้เลือกเล่นมากถึง 55 ชนิด ทั้งเครื่องเล่นประเภทหวาดเสียว เช่น Genting Sky Venture, Flying Coaster, Turbo Drop เป็นต้น และ รวมไปถึงเครื่องเล่นประเภทสนุกสนานสำหรับคุณน้องคุณหนูตัวน้อยๆ และที่พลาดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นส่วนของ Snow World ซึ่งเป็น Snow World ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย และที่นี่ก็ยังมี บ่อนคาสิโน การเข้าไปในบ่อน ผู้ชายต้องสวมเสื้อเชิ้ต กางเกงยายาว ร้องเท้าหุ้มส้น ผู้หญิงแต่งแบบไหนก็ได้
3. สิงคโปร์ (Singapore)
สิงคโปร์ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระดับโลก มีพื้นที่เท่ากับเกาะภูเก็ต ประมาณ 682.7 ตร.กม. แต่สร้างรายได้ประชาชาติสูงสุดติดระดับโลก 117,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลสิงคโปร์เน้นสร้าง “คุณภาพคน” โดยเน้นคุณภาพการศึกษาและความรู้เป็น พื้นฐานให้คนสิงคโปร์ทั้งชายและหญิงเป็นคน “เก่ง” แต่ก็ต้องประสบปัญหาด้านสังคม เมื่อพบว่าอัตราการเติบโตของประชากรทั้งหญิงและชาย ลดลง ไม่ยอมแต่งงานยินดีที่จะอยู่เป็น “โสด” และทำงานเลี้ยงตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน
ภาษา ภาษาอังกฤษ มาเลย์ จีนกลางเป็นภาษาราชการ แต่ร้องเพลงชาติภาษามาเลย์
สภาพอากาศ สิงคโปร์มีอากาศอบอุ่นชื้นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24-31 องศาเซลเซียส ชุดที่สวมใส่ประจำวันควรเป็นเสื้อผ้าสำหรับฤดูร้อนที่เบาสบายและทำจากเส้นใย ธรรมชาติอย่างผ้าฝ้าย
เงินตรา สกุลดอลลาร์สิงคโปร์ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 24.5 บาท (26 มกราคม 2554)
น้ำดื่ม สามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำประปาในสิงคโปร์ได้อย่างปลอดภัย
ห้าม เด็ดขาด สิงคโปร์มีกฎหมายเคร่งครัดในเรื่องระเบียบวินัย เช่น การถ่มน้ำลาย การทิ้งขยะ กฎจราจร การข้ามถนน การสูบบุหรี่ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับเป็นเงิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ยกเว้นสถานที่เที่ยวกลางคืน ที่สำคัญห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง
ไฟฟ้าและปลั๊กไฟ ไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220-240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ใช้ปลั๊กไฟแบบ 3 ขาสี่เหลี่ยมจัตุรัส
สถานที่ท่องเที่ยวที่ ข้าพเจ้าได้ไปคือ บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) และเกาะเซ็นโตซ่า ยูนิเวอร์เซล ได้ชมภาพยนตร์ 4 มิติ (4D) เรื่อง“Pirates” ภาพยนตร์แนวผจญภัยของเหล่าลูกเรือโจรสลัด และกัปตันลัคกี้ ในการออกค้นหาสมบัติล้ำค่าที่ถูกฝังไว้ การ ชมภาพยนตร์ต้องสวมแว่นตาพิเศษที่โรงหนังจัดให้ ขณะชมเราจะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนั้น ได้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สนุกสนานและประทับใจมาก นอกจากนี้ยังได้ชมน้ำพุเต้นระบำ song of the sea สวยงม ตื่นตา ตื่นใจมาก ๆ
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 4
1.จุดเด่น จุดด้อย โอกาสการพัฒนาของโรงเรียนวัดคงคาเจริญ1.1 จุดเด่น โรงเรียนวัดคงคาเจริญเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ในอันดับยอดนิยมของท้องถิ่น ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งรอบที่ 1 และ 2 ขณะนี้เข้าโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้รับการสนับสนุนจากอบจ.นครศรีธรรมราชอนุมัติงบประมาณ และสร้างห้องพิเศษพร้อมอุปกรณ์อีก 1 ห้อง ครูจำนวน 11 คน นักเรียน200คน
1.2 จุดด้อย ฝ่ายบริหารให้ความสำคัญกับการสร้างพลังขับดันให้ครูเกิดจิตสำนึกในหน้าที่ ไว้วางใจ ส่งผลให้ขาดการติดตามตรวจสอบ ปรากฏการณ์นักเรียนว่าง ครูอยู่แต่ไม่สอนหรือเข้าห้องช้าออกเร็วจึงเกิดขึ้นบ่อยครัง
1.3 โอกาสการพัฒนา ด้วยความพร้อมด้านบุคคลากร ทรัพยากรทางการศึกษาและการสนับสนุนจากท้องถิ่นที่ดี โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาจึงมีโอกาสที่ดีมาก เพียงแต่ฝ่ายบริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหาร สร้างระบบการนิเทศ การติดตามตรวจสอบ กำหนดให้บุคลากรทุกคนวางแผนการพัฒนางานของตนเอง(ID Plan)และรายงานผลเป็นลายลักษณ์อักษรหรือคียร์ลงในระบบเครือข่ายของโรงเรียนทุกสิ้นภาคหรือปี
2.ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงานทะเบียน ข้อมูลวิชาการและอื่นๆของโรงเรียน ที่มีอยู่แล้วจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มงาน/ฝ่าย ซึ่งอยู่ในรูปเอกสาร เมื่อต้องการใช้ประโยชน์ต้องไปขอ ทั้งๆที่ข้อมูลทั้งหมดของแต่ละกลุ่มงาน/ฝ่ายอยู่ในระบบงานคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เพียงโอนข้อมูลทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ของโรงเรียนให้บุคลากรดึงข้อมูลมาใช้ในงานของตนเอง โดยเฉพาะรายชื่อนักเรียนมีประโยชน์ต่อการบันทึกข้อมูลในงานด้านการสอน งานปกครองจะง่ายต่อการลงและค้นหาการกระทำความผิดต่างๆ ถ้าใช้ระบบดังกล่าวจะประหยัดกระดาษอย่างมาก
3.นวัตกรรมในสายงานบริหารคือการโอนข้อมูลที่จำเป็น เช่น รายชื่อนักเรียน รายชื่อบุคลากร แบบฟอร์มงานต่างๆ ปฏิทินงานวิชาการ งานกิจกรรม บันทึกความผิดของนักเรียน การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ ขึ้นสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน ส่วนนวัตกรรมที่จะใช้กับบุคลากร ควรให้ทุกคนมีอีเมลหรือบล็อกส่วนตัวเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆหรือสั่งงานนักเรียน โอกาสที่จะพัฒนา
สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน วิเคราะห์แต่ละมิติ ทั้งในเรื่องของ การพัฒนาองค์กร ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (เหตุ) และคุณภาพการให้บริการ ประสิทธิผล(ผล) โดยการพัฒนาบูรณาการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมและงานอาชีพ
2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา มีการจัดทำสารสนเทศของโรงเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสถานศึกษา โดยงานแผนงานและสารสนเทศโรงเรียน ร่วมกับแผนงานฝ่ายแต่ละฝ่ายเป็นผู้จัดทำและจัดเก็บข้อมูลสถานศึกษา พร้อมทั้งมีการปรับปรุงปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ข้าพเจ้าคิดว่ามีสภาพที่ดีมีระบบ แต่ควรที่จะพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันคือต้องมีการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อค้นข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ข้อมูลนักเรียน ใช้โปรแกรม Student เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นห้องเรียน สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวของนักเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีโปรแกรมประมวลผลการเรียนของนักเรียน ในรูปของ บฟ.6 เก็บข้อมูลของนักเรียนไว้ เป็นช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 3 ปี ข้าพเจ้าคิดว่ามีสภาพที่ดีมีระบบ
ข้อมูลบุคลากร มีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรเป็นแฟ้มรายบุคคลโดยมีฝ่ายบุคลากรเป็นผู้รับผิดชอบ ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการปรับปรุงโดยการจัดเก็บข้อมูลของบุคลการเป็นรายบุคคลในรูปของไฟล์ข้อมูล มีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากกว่าเดิม แยกบุคลากรเป็นฝ่ายงานพร้อมรูปภาพ ประวัติ และต้องมีการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลได้สะดวกขึ้น
ข้อมูลงานทะเบียนนักเรียน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการแยกเก็บเป็นปีการศึกษา มีประวัติของนักเรียน ตั้งแต่เลขประจำตัวนักเรียน ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ชื่อพ่อ แม่ ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่ายและสะดวกแต่ควรติดเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อความสะดวกในการสืบค้นของแต่ละฝ่าย
ข้อมูลงานวิชาการและข้อมูลแต่ละฝ่าย มีการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฝ่ายในเครื่องของฝ่ายอย่างเป็นระบบ ผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลได้ ข้าพเจ้าคิดว่า ระบบข้อมูลที่มีอยู่มีสภาพที่ดี แต่ควรได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันโดยการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของแต่ละฝ่ายแล้วนำข้อมูลที่มีอยู่ไปจัดเก็บไว้หากฝ่ายใดต้องการข้อมูลก็สามารถเปิดดูได้โดยทันที และควรจัดเก็บข้อมูลลงในเว็บไซด์ของโรงเรียนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานศึกษาได้อีกทางหนึ่ง
3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- จัดทำสื่อการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ก-ฮ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
- ใช้สื่อการสอนที่ผลิตโดยโปรแกรม Flash
- เป็นสื่อที่ใช้งานเหมาะสำหรับนักเรียน
1.2 จุดด้อย ฝ่ายบริหารให้ความสำคัญกับการสร้างพลังขับดันให้ครูเกิดจิตสำนึกในหน้าที่ ไว้วางใจ ส่งผลให้ขาดการติดตามตรวจสอบ ปรากฏการณ์นักเรียนว่าง ครูอยู่แต่ไม่สอนหรือเข้าห้องช้าออกเร็วจึงเกิดขึ้นบ่อยครัง
1.3 โอกาสการพัฒนา ด้วยความพร้อมด้านบุคคลากร ทรัพยากรทางการศึกษาและการสนับสนุนจากท้องถิ่นที่ดี โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาจึงมีโอกาสที่ดีมาก เพียงแต่ฝ่ายบริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหาร สร้างระบบการนิเทศ การติดตามตรวจสอบ กำหนดให้บุคลากรทุกคนวางแผนการพัฒนางานของตนเอง(ID Plan)และรายงานผลเป็นลายลักษณ์อักษรหรือคียร์ลงในระบบเครือข่ายของโรงเรียนทุกสิ้นภาคหรือปี
2.ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงานทะเบียน ข้อมูลวิชาการและอื่นๆของโรงเรียน ที่มีอยู่แล้วจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มงาน/ฝ่าย ซึ่งอยู่ในรูปเอกสาร เมื่อต้องการใช้ประโยชน์ต้องไปขอ ทั้งๆที่ข้อมูลทั้งหมดของแต่ละกลุ่มงาน/ฝ่ายอยู่ในระบบงานคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว เพียงโอนข้อมูลทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ของโรงเรียนให้บุคลากรดึงข้อมูลมาใช้ในงานของตนเอง โดยเฉพาะรายชื่อนักเรียนมีประโยชน์ต่อการบันทึกข้อมูลในงานด้านการสอน งานปกครองจะง่ายต่อการลงและค้นหาการกระทำความผิดต่างๆ ถ้าใช้ระบบดังกล่าวจะประหยัดกระดาษอย่างมาก
3.นวัตกรรมในสายงานบริหารคือการโอนข้อมูลที่จำเป็น เช่น รายชื่อนักเรียน รายชื่อบุคลากร แบบฟอร์มงานต่างๆ ปฏิทินงานวิชาการ งานกิจกรรม บันทึกความผิดของนักเรียน การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ ขึ้นสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน ส่วนนวัตกรรมที่จะใช้กับบุคลากร ควรให้ทุกคนมีอีเมลหรือบล็อกส่วนตัวเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆหรือสั่งงานนักเรียน โอกาสที่จะพัฒนา
สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน วิเคราะห์แต่ละมิติ ทั้งในเรื่องของ การพัฒนาองค์กร ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (เหตุ) และคุณภาพการให้บริการ ประสิทธิผล(ผล) โดยการพัฒนาบูรณาการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมและงานอาชีพ
2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา มีการจัดทำสารสนเทศของโรงเรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสถานศึกษา โดยงานแผนงานและสารสนเทศโรงเรียน ร่วมกับแผนงานฝ่ายแต่ละฝ่ายเป็นผู้จัดทำและจัดเก็บข้อมูลสถานศึกษา พร้อมทั้งมีการปรับปรุงปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ข้าพเจ้าคิดว่ามีสภาพที่ดีมีระบบ แต่ควรที่จะพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันคือต้องมีการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อค้นข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ข้อมูลนักเรียน ใช้โปรแกรม Student เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นห้องเรียน สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวของนักเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีโปรแกรมประมวลผลการเรียนของนักเรียน ในรูปของ บฟ.6 เก็บข้อมูลของนักเรียนไว้ เป็นช่วงชั้น ช่วงชั้นละ 3 ปี ข้าพเจ้าคิดว่ามีสภาพที่ดีมีระบบ
ข้อมูลบุคลากร มีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรเป็นแฟ้มรายบุคคลโดยมีฝ่ายบุคลากรเป็นผู้รับผิดชอบ ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการปรับปรุงโดยการจัดเก็บข้อมูลของบุคลการเป็นรายบุคคลในรูปของไฟล์ข้อมูล มีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากกว่าเดิม แยกบุคลากรเป็นฝ่ายงานพร้อมรูปภาพ ประวัติ และต้องมีการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลได้สะดวกขึ้น
ข้อมูลงานทะเบียนนักเรียน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการแยกเก็บเป็นปีการศึกษา มีประวัติของนักเรียน ตั้งแต่เลขประจำตัวนักเรียน ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ชื่อพ่อ แม่ ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่ายและสะดวกแต่ควรติดเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อความสะดวกในการสืบค้นของแต่ละฝ่าย
ข้อมูลงานวิชาการและข้อมูลแต่ละฝ่าย มีการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฝ่ายในเครื่องของฝ่ายอย่างเป็นระบบ ผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลได้ ข้าพเจ้าคิดว่า ระบบข้อมูลที่มีอยู่มีสภาพที่ดี แต่ควรได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันโดยการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของแต่ละฝ่ายแล้วนำข้อมูลที่มีอยู่ไปจัดเก็บไว้หากฝ่ายใดต้องการข้อมูลก็สามารถเปิดดูได้โดยทันที และควรจัดเก็บข้อมูลลงในเว็บไซด์ของโรงเรียนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถานศึกษาได้อีกทางหนึ่ง
3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- จัดทำสื่อการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ก-ฮ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
- ใช้สื่อการสอนที่ผลิตโดยโปรแกรม Flash
- เป็นสื่อที่ใช้งานเหมาะสำหรับนักเรียน
กิจกรรมที่ 3
การใช้โปรแกรม SPSS
1.เปิดโปรแกรม SPSS
2.ดูมุมซ้ายมือจะมีหน้ากระดาษ 2 หน้า หน้า 1 data view หน้า 2 variable view
3.ให้กดหน้า 2 variable view
4.กำหนดค่าในหน้า variable view
ช่องname พิมพ์ เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3 เรียงจากบนลงล่าง โดย aแทนแบบประเมินด้านที่1 b แทนแบบประเมินด้านที่ 2 c แทนแบบประเมินด้านที่ 3 และ d แทนแบบประเมินด้านที่ 4
ช่องwidth พิมพ์ตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
ช่องdeimalsเลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0,1,2)
ช่องvalue ใส่ค่าโดยคลิกขวา แถวเพศ ในช่อง value พิมพ์ 1ชาย 2หญิง ส่วนแถว a1,a2....,d3 ในช่อง value ใส่ 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด
5.หลังจากนั้นกลับมากดหน้า 1 data view ข้อมูลที่พิมพ์ จากหน้า variable view เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3 จะมาปรากฎ บนหัวกระดาษโดยเรียงจากซ้ายไปขวา
6.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view โดยกรอกข้อมูลเป็นรายบุคคลที่ละข้อจนครบทุกข้อ แล้วจึงกรอกข้อมูลคนที่ 2,3,4 จนครบ 20 คน โดย
ช่อง เพศ หากผู้ประเมินเป็นเพศชาย พิมพ์ 1 เพศหญิง พิมพ์ 2
ช่อง a1 หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับปานกลาง ให้พิมพ์เลข 3
ช่อง a2 หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับมาก ให้พิมพ์เลข 4
จนถึง d4 ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 คน)
7.การวิเคราะห์ข้อมูล
กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
กดที่ transform เลือก compute variable -พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
กดที่ analyze เลือก descriptive statistic เลือก frequencies เลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3
แล้วคลิก ok แสดงประมวลผล
1.เปิดโปรแกรม SPSS
2.ดูมุมซ้ายมือจะมีหน้ากระดาษ 2 หน้า หน้า 1 data view หน้า 2 variable view
3.ให้กดหน้า 2 variable view
4.กำหนดค่าในหน้า variable view
ช่องname พิมพ์ เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3 เรียงจากบนลงล่าง โดย aแทนแบบประเมินด้านที่1 b แทนแบบประเมินด้านที่ 2 c แทนแบบประเมินด้านที่ 3 และ d แทนแบบประเมินด้านที่ 4
ช่องwidth พิมพ์ตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
ช่องdeimalsเลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0,1,2)
ช่องvalue ใส่ค่าโดยคลิกขวา แถวเพศ ในช่อง value พิมพ์ 1ชาย 2หญิง ส่วนแถว a1,a2....,d3 ในช่อง value ใส่ 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด
5.หลังจากนั้นกลับมากดหน้า 1 data view ข้อมูลที่พิมพ์ จากหน้า variable view เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3 จะมาปรากฎ บนหัวกระดาษโดยเรียงจากซ้ายไปขวา
6.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view โดยกรอกข้อมูลเป็นรายบุคคลที่ละข้อจนครบทุกข้อ แล้วจึงกรอกข้อมูลคนที่ 2,3,4 จนครบ 20 คน โดย
ช่อง เพศ หากผู้ประเมินเป็นเพศชาย พิมพ์ 1 เพศหญิง พิมพ์ 2
ช่อง a1 หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับปานกลาง ให้พิมพ์เลข 3
ช่อง a2 หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับมาก ให้พิมพ์เลข 4
จนถึง d4 ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 คน)
7.การวิเคราะห์ข้อมูล
กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
กดที่ transform เลือก compute variable -พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
-เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
กดที่ analyze เลือก descriptive statistic เลือก frequencies เลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3
แล้วคลิก ok แสดงประมวลผล
กิจกรรมที่ 1
ธัญวัตน์ คำแหง จบการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เอกมนุษย์ศาสตร์ คติประจำใจทำทุกวันให้ดีที่สุด
ปัจจุบันสอนที่ โรงเรียนวัดคงคาเจริญ สอนวิชาภาษาอังกฤษ
ปัจจุบันสอนที่ โรงเรียนวัดคงคาเจริญ สอนวิชาภาษาอังกฤษ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)